^^ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บล๊อกศึกษาเรื่อง "ระบบเอทีเอ็ม" ^^

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล๊อกประกอบสื่อการเรียนรู้ในเรื่อง "ระบบเอทีเอ็ม" โดยได้ทำการสร้างโดยนักเรียนโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม จังหวัดเชียงใหม่ ระดับชั้นมัธยมสึกษาปีที่ 4 ช่วงชั้นที่ 3 ห้อง 8 เลขที่ 4,14,24,34,44,54 โดยทางคณะผู้จัดทำได้สนใจในเรื่องระบบการทำงานต่างๆในตู้ เอทีเอ็ม จึงได้ริเริ่มทำการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อทำการศึกษาเพือให้ได้ทราบถึงระบบการทำงานของ ตู้เอทีเอ็ม จนไขปัญหาข้องใจต่างๆได้ จึงคิดอยากที่จะเผยแพร่ให้ผู้ที่กำลังสนใจในเรื่องนี้ ทางคณะผู้จัดทำได้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบล็อกๆนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลัง ศึกษา หรือสนใจ ในเรื่องนี้ไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใดทางผูจัดทำขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
(หมายเหตุ ข้อมูลในบล็อกนี้ได้ถูกค้าคว้ามาจากเว็บภายนอกแล้วนำมาเรียบเรียงใหม่)

วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553

o.oรูปแบบการส่งข้อมูลo.o

เป็นแบบ Connectionoriented กล่าวคือจะมีการสร้าง Connection จากต้นทางถึงปลายทาง กำหนดเส้นทางที่แน่นอนก่อน แล้วจึงเริ่มส่งข้อมูล เมื่อส่งข้อมูลเสร็จก็ปิด connection เปรียบเทียบได้กับการโทรศัพท์ ก็จะมีการเริ่มยกหู กดเบอร์ และเมื่อมีคนรับก็ต้องสวัสดีแนะนำตัวกันก่อน แล้วจึงเริ่มการสนทนา เมื่อสนทนาเสร็จแล้วก็มีการกล่าวอำลาและวางหูเป็นการปิด Connection ต่างจาก IP Network ในแบบก่อน ซึ่งจะป็นแค่การระบุจุดหมายปลายทางแล้วก็ส่งข้อมูลไปเท่านั้น การเลือกเส้นทางในแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ระหว่างเส้นทางเดินว่าจะเลือกเส้นทางใด เหมือนกับการส่งจดหมายนั่นเอง เราเพียงระบุจ่าหน้าแล้วก็หย่อนลงตู้ไปเท่านั้น ผู้ส่งไม่สามารถทราบได้ว่าจะไปถึงผู้รับเส้นทางไหน และจะไปถึงเมื่อไร นอกจากนี้ ATM ยังมีลักษณะหนึ่งที่มีความสำคัญมาก คือ ATM จะมี QoS (Quality of Service) ซึ่งสามารถรับประกันคุณภาพของการส่งข้อมูลในแต่ละ Connection ได้ นั่นคือเมื่อมีการเริ่ม Connection จะมีการตกลงระดับ QoS ที่ต้องการใช้ก่อน เพื่อให้เราสามารถส่งข้อมูลโดยได้รับคุณภาพของการส่งตามที่กำหนดไว้นั่นเอง

เครือข่าย ATM เป็นระบบแบบสวิตส์ กล่าวคือ ในเครือข่าย ATM นั้น แต่ละ Connection สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ทันที ไม่ต้องรอให้อีกคนหนึ่งส่งเสร็จก่อนถ้าพิจารณาหาทางแยก อันหนึ่งที่มีรถวิ่งมาจากหลาย ๆ ทาง เราสามารถเปรียบเทียบเครือข่ายแบบสวิตส์นี้ได้เสมือนเป็นทางต่างระดับ ซึ่งรถจากแต่ละทางสามารถวิ่งไปยังปลายทางของตนเองได้ในทันทีโดยที่ไม่ต้องรอกัน ซึ่งต่างจากระบบ Share-Bus ที่เปรียบเสมือนทางแยกธรรมดาซึ่งมีไฟเขียงไฟแดง รถที่แล่นมาจากแต่ละทางต้องรอ ให้ถึงสัญญาณไฟเขียวก่อน จึงจะวิ่งต่อไปได้และไม่อาจวิ่งหลายทางพร้อม ๆ กันได้

วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

@.@ลักษณะการทำงานของ ATM @.@

ATMเป็นมาตรฐานรูปแบบการส่งข้อมูลความเร็วสูงที่ถูกพัฒนามสำหรับงานที่ต้องการความเร็วในการส่ง ข้อมูลสูงมากๆข้อมูลที่ส่งในเครือข่าย ATM จะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อยเล็กๆเรียกว่าส "เซลล์( cell )" มีขนาด 53 ไบต์ ประกอบด้วยส่วนข้อมูล (Payload) ขนาด 48 ไบต์ และส่วนหัว (Header) ขนาด 5 ไบต์ ส่วนหัวจะเก็บข้อมุลที่จำเป็นต่าง ๆ ที่ใช้ในการควบคุมการส่งเช่น จุดหมายปลายทางระดับความสำคัญของเซลล์นั้น

โดยจะประกอบด้วย

VPI(Virtual Path Identifier) และ VCI (Virtual Circuit Identifier) ทำหน้าที่กำหนดวงจรเสมือน (Virtual Circuit) ในการเดินทางให้กับเซลล์นั้น

HFC (Header Eror Check) ทำหน้าที่ตรวจสอบเซลล์ ที่ไม่สอดคล้องตามที่ระบุในส่วนหัว สวิตซ์ ATM จะทำหน้าที่ ในการมัลติเพล็กซ์และจัดการส่งข้อมูลนั้นตามที่กำหนดไว้ในส่วนหัวไปสู่ปลายทาง เมื่อข้อมูลของผู้ใช้เข้ามา จะถูกตัวแบ่งย่อยเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 48 byte และ เติมส่วนหัวเข้าไปอีก 5 byte แล้วจึงส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ตามเครือข่าย ATM ซึ่งระบุไว้ตรงส่วนหัว เมื่อถึงปลายทางก็จะเอาส่วนหัวออก แล้วประกอบกันเป็นข้อมูลชิ้นใหญ่ เหมือนเดิม ลัษณะของ ATM นี้ จะคล้ายกับเครือข่าย Packet-switching อื่น ๆ ที่มีอยู่เช่น x.25 หรือ Frame Relay แตกต่างกันที่ ATM จะมีขนาด Pack เล็กและคงที่

วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553

([^[T]^])เทคโนโลยีเครือข่าย ATM([^[T]^])


เครือข่าย ATM จะใช้โปรโตคอล ATM(Asynchronous Transfer Mode) เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลความเร็วสูง โดยATM ถูกพัฒนามาเพื่อให้ใช้กับงานที่มีลักษณะข้อมูลหลายรูปแบบและต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมาก สื่อที่ใช้ในเครือข่ายมิได้มิได้ตั้งแต่สายไฟเบอร์ออปติก สายโคแอกเชียล หรือสายไขว้คู่ (Twisted pair) มีความเร็วในการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่ 2Mbps ไปจนถึง 622Mbps ATM ถูกพัฒนามาจากเครืองข่าย Packet-switching ซึ่งจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นหน่วยย่อยๆเรียกว่า Packet ที่มีขนาดเล็กและคงที่แล้วจึงส่งแต่ละ Packet ออกไป แล้วนำมาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้งที่ปลายทาง ข้อดีของ ATM คือสามารถใช้กับข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเร็วของข้อมูลสูง และสามารถรับประกันคุณภาพของการส่งได้ (มี Quality of Service)

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

0.0เบื้องหลังความสำเร็จของเอทีเอ็ม0.0


เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบเอทีเอ็ม ก็คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูล กับเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล ทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมือง ทั่วประเทศ หรือทั่วโลกได้ ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามาถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่เกือบทุกหนแห่งเช่นในห้างสรรพสินค้า หรือ ตามมุมถนนทั่วไป ทุกครั้งที่ลูกค้าใช้บัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็ม จะมีการสื่อสารข้อมูลไปยังฐานข้อมูลกลางที่สำนักงานใหญ่ของธนาคาร ซึ่งได้บรรจุข้อมูลยอดเงินฝาก และการฝากการถอนเงินของลูกค้า ฐานข้อมูลนี้จึงเป็นฐานที่สำคัญ เรียกว่า ฐานข้อมูลกลาง ในความหมายที่ว่าลูกค้ามีบัญชีเงินฝากในธนาคารแห่งนั้นๆจะมีข้อมูลอยู่ที่ฐานข้อมูลกลางพียงชุดเดียว และด้วยระบบการสื่อสารข้อมูลในลัษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากระยะไกล นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยจัดการประผลรายการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น การฝาก การโอน และการถอน ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

@@ระบบเอทีเอ็ม@@

ระบบเอทีเอ็ม(Automatic Teller Machine:ATM)หรือระบบถอนเงิน หรือฝากเงินของธนาคารโดยอัตโนมัติเป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสะบายอย่างมากให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร และเป็นตัวอย่างเทโนโลยีระบบสารสนเทศที่ได้รับการนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ ในอดีตเมื่อเริ่มมีการใช้ระบบเอทีเอ้ม เครื่องแรกของโลกหรือของประเทศไทย มีเหตุการณ์ที่น่าสนใจอะไรเกิดขึ้นและขณะนั้นธุรกิจธนาคาร ให้ทางเลือกในการบริหารกันอย่างไรบ้าง




พ.ศ. 2520 เป็นปีที่มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้ แบงค์ ในเมืองนิวยอร์ก เริ่มให้บริการฝากและถอนเงินโดยอัตดนมัติแก่ลูกค้า ซึ่งสามารถให้บริการได้ตลอด24ชั่วโมง รวมวันเสาร์ อาทิตย์ด้วย ในขณะที่นาคารอื่นๆที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ บนถนนสายเดียวกันให้บริการลูกค้าในเวลาปกติเท่านั้นคือเฉพาะ จันทร์ถึงศุกร์ เวลา8:00-14:00 น. หลังจากบ่ายสองโมงก็หมดโอกาศได้รับบริการ ฝากถอนเงินแล้ว เมื่อวิเคราะห์มุมมองในการแข่งขันของธนาคาร ในการให้บริการลูกค้า กล่าวได้ว่า ระบบเอทีเอ็มของธนาคารซิตี้แบงค์เป็นบริการใหม่ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย และ คล่องตัว ได้ดึงดูดลูกค้าจากธนาคารอื่นมาเป็นลูกค้าของตัวเอง และ เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเกือบสามเท่าตัว ในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือนก่อนที่ธนาคารคู่แข่งจะไหวตัวทันมาให้บริการเอทีเอ็มบ้าง